รู้จักการทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อม และการดูแลตัวเองหลังทำกายภาพ

KaustHub  > Health, Medical >  รู้จักการทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อม และการดูแลตัวเองหลังทำกายภาพ

รู้จักการทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อม และการดูแลตัวเองหลังทำกายภาพ

กายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อม
| | 0 Comments

                กระดูกคอเสื่อม คือหนึ่งในอาการที่มีโอกาสเกิดขึ้นได้เมื่ออายุเริ่มเข้าสู่วัยชรา ทำให้ผู้สูงอายุหลายท่านจำเป็นต้องได้รับการรักษาด้วยวิธีทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมา ถึงแม้จะเป็นอาการที่เกิดจากความเสื่อมถอยของร่างกาย ไม่สามารถป้องกันได้ แต่ถ้าได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง รู้ตัวตั้งแต่มีอาการในระยะแรก ๆ และดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี ก็จะช่วยให้อาการดีขึ้น ลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อน และสามารถใช้ชีวิตประจำได้โดยที่อาการเจ็บป่วยกลับมารบกวนน้อยลง

อาการแบบใดที่ต้องไปทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อม

                อาการกระดูกคอเสื่อม มักจะปวดบริเวณคอซึ่งกินวงกว้างไปจนถึงไหล่และแขน เกิดจากการเสื่อมสภาพของหมอนรองกระดูกคอที่ทรุดลง ไม่สามารถรองรับกระดูกคอได้เหมือนเดิม การทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อมจะช่วยเพิ่มความแข็งแรงและความยืดหยุ่นให้กับกล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่มากขึ้น สิ่งที่ทุกคนควรรู้คือปัจจัยเสี่ยงและอาการแรกเริ่มของโรคกระดูกคอเสื่อม

ซึ่งปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิดอาการกระดูกคอเสื่อมเมื่ออายุมากขึ้น ได้แก่

  1. เคยประสบอุบัติเหตุหรือได้รับบาดเจ็บบริเวณคอมาก่อน
  2. ทำงานท่าเดียวนาน ๆ ในลักษณะที่ต้องก้มหน้าเป็นเวลานาน
  3. ติดนิสัยชอบสะบัดคอแรง ๆ หรือเคลื่อนไหวคอโดยไม่ระวังบ่อย ๆ

ส่วนอาการที่บ่งบอกว่าควรไปทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อมคือ อาการตั้งแต่ระดับกลางไปจนถึงระดับรุนแรง เนื่องจากอาการระยะแรก ๆ ยังใช้ยาเพื่อบรรเทาปวดและคลายกล้ามเนื้อในการรักษาได้ แต่หากเริ่มมีอาการปวดจนเริ่มมีอาการชาและอ่อนแรง ปวดจากคอร้าวไปจนถึงต้นแขน หรือบางครั้งอาจลงไปถึงมือ ควรเริ่มทำกายภาพบำบัดตั้งแต่เริ่มมีอาการ เพื่อไม่ให้เข้าสู่ระยะรุนแรง

การดูแลตัวเองหลังทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อม

                หลังจากทำกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อมแล้ว เมื่อกลับมาดูแลตัวเองที่บ้าน ให้ทำตามคำแนะนำของแพทย์หรือนักกายภาพบำบัดอย่างเคร่งครัด เพื่อไม่ให้อาการกระดูกคอเสื่อมกลับมาเป็นซ้ำอีก นอกจากนี้ให้พิจารณาสภาพแวดล้อมที่คุณใช้ชีวิตอยู่ว่า ยังมีปัจจัยอะไรที่ทำให้เสี่ยงกับอาการกระดูกคอเสื่อมอีกหรือไม่ เช่น หมอนที่ใช้นอนเป็นประจำสูงเกินไปหรือไม่ มีงานอดิเรกที่ต้องใช้การก้มหน้าทำเป็นเวลานานหรือไม่ ออกกำลังกายน้อยเกินไปหรือไม่ เป็นต้น หากเป็นกิจกรรมหรือพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง ควรหลีกเลี่ยงและปรับพฤติกรรมให้เหมาะสมมากขึ้น

ถึงแม้จะไม่ใช่ผู้สูงอายุ แต่ถ้าหากมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเป็นเวลานาน จะทำให้กล้ามเนื้อถูกทำร้ายสะสม จนออกอาการเมื่ออายุมากขึ้นได้ ไม่ว่าจะเป็นการก้มหน้าเล่นมือถือเป็นเวลานาน ละเลยการยืดเหยียดกล้ามเนื้อคอก่อนและหลังออกกำลังกาย ไปจนถึงไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกันที่คอเมื่อทำกิจกรรมที่มีความเสี่ยง แต่ถ้าหากเริ่มมีอาการแล้วรู้ตัวอย่างทันท่วงที รีบมารักษาด้วยกายภาพบำบัดกระดูกคอเสื่อมและดูแลตัวเองดี ก็จะช่วยป้องกันได้เช่นกัน